Page 46 - Annual Report 2009
P. 46

ด้านการประกันคุณภาพตามระบบคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
            ปี 2552 วิทยาลัยด�าเนินงานตามระบบคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลระยะที่ 3 ภายใต้การก�ากับดูแลของคณะกรรมการบริหาร
            ระบบประกันคุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีการประชุมเพื่อก�าหนดนโยบาย ก�ากับดูแล รวมถึงการติดตามการพัฒนาและ
            ประกันคุณภาพวิชาการทุกเดือนตลอดปีงบประมาณ 2552 นอกจากนั้นวิทยาลัยยังก�าหนดให้มีคณะท�างานด้านการประกันคุณภาพ
            เพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดท�ารายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report – SAR) ขึ้น เพื่อให้รายงานการประเมินตนเอง
            เป็นเครื่องมือที่สะท้อนคุณภาพของการด�าเนินงานของวิทยาลัยในแต่ละปี รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาวิทยาลัย

            สู่ความเป็นเลิศในการประกันคุณภาพวิชาการในโอกาสต่อไป โดยในปีงบประมาณ 2552 นี้ วิทยาลัยได้จัดท�าและเสนอรายงาน
            การประเมินตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้าน 22 องค์ประกอบ และ 68 ข้อมาตรฐาน มีเนื้อหาสาระครอบคลุม ทั้ง 9 องค์ประกอบ
            คุณภาพของส�านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ 7 มาตรฐานของส�านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
            การศึกษา (สมศ.) โดยวิทยาลัยได้มีการด�าเนินงานด้านบริหาร การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการท�านุบ�ารุงศิลป
            วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม


            นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้แต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมส�ารวจขึ้น เพื่อด�าเนินการตรวจเยี่ยมวิทยาลัยในระหว่างวันที่ 18-19
            มกราคม 2553 โดยมีรายงานผลการเยี่ยมส�ารวจวิทยาลัยการจัดการในประเด็นที่ส�าคัญ เช่น



            จุดเด่น
            วิทยาลัยการจัดการมีการก�าหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของสถาบันที่สอดคล้องกับทิศทาง และแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
            รวมถึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับคณะ สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยในต่าง
            ประเทศ ทั้งในเชิงวิชาการ และโครงการเฉพาะกิจ


            โอกาสพัฒนา
            วิทยาลัยการจัดการควรพิจารณา ปรับปรุงแผนงาน และแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน MUQD และข้อเสนอแนะของผู้เยี่ยมส�ารวจ
            นอกจากนั้นควรก�าหนดกลยุทธ์ แผนงาน เป้ าหมาย และเครื่องชี้วัด ที่ประเมินผลลัพธ์ (outcome KPI) ที่ส�าคัญของยุทธศาสตร์
            สถาบัน และ เทียบเคียง (Benchmarking) กับสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ และน�ามาวางแผน ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
            (Continuous Quality Improvement, CQI) และต่อยอดสู่งานวิจัย (Routine to Research)



            ในปี 2552 วิทยาลัย  มีกิจกรรมที่สนับสนุนระบบพัฒนาและประกันคุณภาพ ดังนี้

            1.  จัดท�าแบบส�ารวจเพื่อการประเมินความเป็นผู้น�าผู้บริหารระดับสูง (ประกอบด้วย ผู้อ�านวยการวิทยาลัย ผู้อ�านวยการฝ่าย รักษา
                การผู้อ�านวยการฝ่าย) ผ่านระบบออนไลน์ (Leadership Survey: College of Management, Mahidol University) โดยก�าหนด
                หัวข้อค�าถามตามแนวทางของมาตรฐานประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส�ารวจความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์
                ผู้จัดการ และพนักงาน ในช่วง 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2552















      44
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51