สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ (Health Business Management) เป็นหลักสูตรการจัดการธุรกิจสุขภาพของเราได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับผู้บริหารในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพทั้งหมดของประเทศไทยให้มีมาตราฐานและพร้อมกับการบริหารธุรกิจยุคดิจิตอลนี้
***ตารางเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมในแต่ละเทอม
แนวทางการเรียนการสอนเป็นแบบให้ความรู้พื้นฐาน สร้างแนวคิดทางธุรกิจและมุมมองแบบองค์รวมของอุตสาหกรรมสุขภาพ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจในภาพรวมของระบบการดูแลสุขภาพ บริบทของธุรกิจสุขภาพและแนวโน้มภาพรวมของธุรกิจสุขภาพในปัจจุบันและอนาคตที่กำลังเป็นที่ต้องการ
หลักสูตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ มีความรู้ทางด้านธุรกิจและมีทักษะการเป็นผู้บริหารชั้นนำ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการส่งมอบการดูแลในอุตสาหกรรมธุรกิจสุขภาพ อีกทั้งหลักสูตรเรายังนําเสนอความรู้ที่ยอดเยี่ยมในการจัดการการดูแลสุขภาพและองค์กรด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะที่ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรและภายในห่วงโซ่อุปทาน
ทั้งนี้หลักสูตรการจัดการธุรกิจสุขภาพได้รับความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรหลายจากภาคส่วน เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธบดี สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ อีกมากมายจากอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งจะเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจสุขภาพ เทคนิคกับความรู้ด้านธุรกิจและการจัดการ ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทัศนคติและทักษะที่จําเป็นสําหรับความสําเร็จในธุรกิจที่กำลังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมในโลกอนาคต
ความเข้าใจในกระบวนการและฟังก์ชันทางธุรกิจสําหรับการวิเคราะห์ธุรกิจสุขภาพ และวิทยาการข้อมูล การเก็บ รวบรวมข้อมูล คลังข้อมูล และการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่สําหรับการวิเคราะห์ธุรกิจสุขภาพ วิเคราะห์เพื่อนําไปวิเคราะห์แนวโน้ม
ความสําคัญและผลกระทบของนวัตกรรม ต่อองค์กรธุรกิจสุขภาพ กรอบแนวคิดเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการ กระบวนการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจ สุขภาพรูปแบบใหม่ ความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ทางธุรกิจ และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความท้าทายใหม่ในการจัดการนวัตกรรม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง อุปสรรค ของการเปลี่ยนแปลง
แนวโน้มและความสําคัญของการตลาดดิจิทัลในธุรกิจสุขภาพ วางแผนการบริหารจัดการและการลงมือปฏิบัติให้กิจกรรมการตลาดดิจิทัลประสบความสําเร็จ ทั้งการสร้างแบรนด์การสร้างยอดขายโดยใช้เทคนิคการตลาดดิจิทัลรูปแบบต่างอาทิ เครื่องมือการตลาดด้านการค้นหาข้อมูล การโฆษณาออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์และมือถือ
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเชิง กระบวนการ ผลิตภัณฑ์และบริการ นวัตกรรม การจัดการคุณภาพ การจัดการสินค้าและ บริการ การจัดการระบบลีน การจัดการ ความสัมพันธ์ของลูกค้า การจัดการความ เปลี่ยนแปลงในการดําเนินงานโซ่อุปทาน ประเด็นสําคัญและแนวโน้มการจัดการโล จิสติกส์และโซ่อุปทานธุรกิจสุขภาพ
นักศึกษาทุกสาขาวิชาต้องเรียนวิชาแกนครบทั้ง 5 วิชา โดยทั่วไปนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาบังคับครบทุกวิชาภายใน 3 ภาคการศึกษาแรก นักศึกษาจะสามารถเข้าสอบประมวลความรู้ได้ หลังจากสอบผ่านวิชาแกนครบทั้ง 5 วิชาแล้ว (สำหรับนักศึกษารหัส 64 เป็นต้นไป)
หมวดวิชาแกน (15 หน่วยกิต)
(12 หน่วยกิต)
สารนิพนธ์ (6 หน่วยกิต) |
หมวดวิชาเลือก (ตามวิชาเอก) (6-12 หน่วยกิต)
|
รวม 45 หน่วยกิต |
Item | Precourse | Term 1 | Term 2 | Term 3 | Term 4 | Term 5 | Total |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1. Matriculation (ค่าบำรุงการศึกษา) | - | 30,000 | 30,000 | 30,000 | 30,000 | 30,000 | 150,000 |
2. Entrance Fee (ค่าธรรมเนียมแรกเข้า) | 30,000 | - | - | - | - | - | 30,000 |
3. Tuition Fee (ค่าหน่วยกิต)1 | - | 24,300 | 24,300 | 24,300 | 24,300 | 24,300 | 121,500 |
Total Academic Expenses (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร) | 30,000 | 54,300 | 54,300 | 54,300 | 54,300 | 54,300 | 301,500 |
สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ หรือ HBM ได้ออกแบบวิชาใหม่ ๆ ในหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิตอลด้วย เช่น การวิเคราะห์ธุรกิจสุขภาพและวิทยาการข้อมูล
นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสุขภาพ การตลาด ดิจิทัลสําหรับธุรกิจสุขภาพ จริยศาสตร์ทางการแพทย์ และการจัดการคุณภาพ เป็นต้น